เมนู

เขตแดนในภายใน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญ-
ญุตา.

ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องกั้นกาง
ด้วยการเดินการนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมทั้งหลาย
อันเป็นเครื่องกั้นกาง ด้วยการเดินการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี ย่อม
สำเร็จสีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อม
เท้า มีสติสัมปชัญญะ ใส่ใจถึงสัญญาในความลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยาม
แห่งราตรี กลับลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมทั้งหลายอันเป็น
เครื่องกั้นกาง ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณา
ถึงความอยู่แห่งบุคคลผู้มีราตรีเดียวเจริญ ชื่อว่า ประพฤติในธรรมเป็น
ส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค
ในภายใน ย่อมไม่ทำลายชาคริยานุโยคอัน
เป็นเขตแดน นี้ชื่อว่า ธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค เพราะเหตุ
นั้น จึงชื่อว่า ภิกษุ...มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วนสุดรอบ.

ลักษณะตัวเหลือบเป็นต้น


[933] แมลงมีตาเหลือง เรียกว่า เหลือบ ในคำว่า ตัวเหลือบ
สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน แมลงวันแม้ทั้งปวง
เรียกว่าสัตว์ไต่ตอม
เหตุไรแมลงวันแม้ทั้งปวง จึงเรียกว่าสัตว์ไต่ตอม สัตว์เหล่านั้น ย่อมบิน
ตอม กัดกิน เหตุนั้น จึงเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม งูทั้งหลาย เรียกว่า สัตว์
เลื้อยคลาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตัวเหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อย
คลาน.

[934] คำว่า สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่สัตว์ 4 เท้า ความว่า
พวกโจร คนที่ทำกรรมชั่ว หรือคนที่เตรียมทำกรรมชั่ว เรียกว่า สัมผัส
แต่มนุษย์ มนุษย์เหล่านั้น พึงถามปัญหาบ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง
พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้า
ไปฆ่า หรือทำความพยายามฆ่า ความกระทบกระทั่งแต่มนุษย์อย่างใด
อย่างหนึ่ง ชื่อว่าสัมผัสแต่มนุษย์. คำว่า ภัยแต่สัตว์ 4 เท้า ความว่า
ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง
สัตว์ 4 เท้าเหล่านั้น พึงย่ำยี กัดกิน เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง
ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่าภิกษุ ความกระทบกระทั่งแต่สัตว์ 4
เท้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าภัยแต่สัตว์ 4 เท้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
สัมผัสแต่มนุษย์และภัยแต่สัตว์ 4 เท้า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า
ภิกษุผู้เป็นธีรชน มีสติ ประพฤติในธรรมเป็นส่วน
สุดรอบ ไม่พึงกลัวภัย 5 ประการ คือตัวเหลือบ สัตว์
ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน สัมผัสแต่มนุษย์ และภัยแต่
สัตว์ 4 เท้า.

[935] ภิกษุไม่พึงหวาดเสียว แม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมากของคนที่ตั้งอยู่ใน
ธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้
แสวงหากุศล พึงย่ำยีอันตรายอื่น ๆ.

ว่าด้วยสหธรรมิก


[936] คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก ของคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น
นั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว
ความว่า เว้นสหธรรมิกชน 7 จำพวก (คือภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา) คนเหล่าใด
เหล่าหนึ่งผู้ไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ไม่เลื่อมใสในพระธรรม ไม่เลื่อม-
ใสในพระสงฆ์ เรียกว่า คนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น คนพวกนั้นถามปัญหา
บ้าง พึงยกวาทะกะภิกษุบ้าง พึงด่า ค่อนว่า แช่ง เสียดสี เบียดเบียน
ย่ำยี กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข้าไปฆ่า ทำความพยายามฆ่า ภิกษุเห็นหรือ
ได้ยินอารมณ์อันให้เกิดความขลาดเป็นอันมากของคนเหล่านั้นแล้ว ไม่
พึงหวั่นไหวสะทกสะท้าน ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรนหวาดเสียว ครั่นคร้าม ไม่
พึงกลัว ไม่พึงถึงความสยดสยอง คือเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่ครั่นคร้าม ไม่
หวาดเสียว ไม่หนีไป เป็นผู้ละความกลัว ความขลาดเสียแล้ว ปราศจาก
ความเป็นผู้มีขนลุกอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภิกษุไม่พึงหวาดเสียวแม้
ต่อคนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่น เมื่อเห็นอารมณ์อันให้เกิดความขลาดมาก
ของตนที่ตั้งอยู่ในธรรมอื่นนั้น ก็ไม่พึงหวาดเสียว.


อันตราย 2 อย่าง


[937] คำว่า อนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้ตามแสวงหากุศล พึงย่ำยี
อันตรายอื่น
ความว่า อนึ่ง อันตรายแม้เหล่าอื่น อันภิกษุทั้งหลายผู้ตาม
แสวงหากุศลพึงย่ำยี ครอบงำ ข่มขี่ กำจัด ขับไล่ มีอยู่ ชื่อว่าอันตราย
ได้แก่อันตราย 2 อย่าง คืออันตรายที่ปรากฏ 1 อันตรายที่ปกปิด 1 ฯลฯ